การเกิดแผ่นดินไหว:รอยเลื่อนในประเทศไทย
“แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน
อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่
สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่
เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน
และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน
และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม
ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง
และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก
จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป
ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน
และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง
ประเภทของกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย
กลุ่มลอยเลื่อนที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนื่อ-ตะวันออกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ปิง ทอดตัวผ่านอำเภอตากฟ้า, อำเภอพยุหะคีรี, อำเภอเมือง(นครสวรรค์), อำเภอขาณุวรลักษบุรี, อำเภอคลองขลุง, อำเภอเมือง(กำแพงเพชร) ในแนวทิศตะวันตกเฉัยงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 161 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ วางตัวอยู่ทางตะวันออกของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี อยู่ในร่องแม่น้ำกลอง และแควใหญ่ ไปจนถึงเขตแดนพม่า มีความยาวเฉลี่ยกว่า 500 กิโลเมตร เป็นรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวทั้งใหญ่และเล็กหลายครั้ง แต่ที่รุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 มีขนาด 5.9 ริกเตอร์
- กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ทอดตัวผ่านอำเภอทองผาภูมิ, อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนแกลง ทอดตัวผ่านอำเภอพนัสนิคม, อำเภอบ้านบึง, อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์, อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร
ในมหายุคมีโซโซอิกมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย
แต่ในยุคเทอร์เชียรีทิศการเคลื่อนที่จะกลับไปทางขวา
กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนื่อ-ตะวันตกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนเชียงแสน ทอดตัวผ่านอำเภอแม่จัน, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 22 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนแพร่ ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 25 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ทอดผ่านอำเภอเมือง, อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น, อำเภอนาน้อย, อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 150 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนระนอง ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง, อำเภอกะเปอร์, อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง, เลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทอดตัวผ่านอำเภอบ้านตาขุน, อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด, อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จากนั้นเลยไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ความยาว 148 กิโลเมตร
กลุ่มรอยเลื่อนแบบปกติวางตัวอยู่ในแนวเกือบเหนื่อใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา
- กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์
- กลุ่มรอยเลื่อนปัตตานี
ภาพรอยเลื่อนในประเทศไทย ที่มาจาก แหล่งข้อมูลวิชาการธรณีไทย:Geothai.net |